High-alert drug guides



Adrenaline ( Epinephrine )



ข้อบ่งใช้
รักษาภาวะ Shock, Asthma attack

รูปแบบยาที่มีใช้ในโรงพยาบาล
Adrenaline inj. 1 mg/ml in 1 ml ampule หรือ 1 : 1,000/ amp.

ขนาดใช้ยา
เด็ก : เริ่มที่ 0.05 – 1 mcg/kg/min,
Maximum dose 1 – 2 mcg/kg/min
ผู้ใหญ่ : เริ่มที่ 4 mcg/kg/min แล้วค่อยๆเพิ่มจนสามารถควบคุมอาการได้

Monitoring
  • Serum K
  • Heart rate
  • ระดับ Glucose
  • Blood pressure


อาการเมื่อได้รับยาเกินขนาด
Hypertension, Sweating, Cerebral hemorrhage, Convulsion

วิธีการผสมและความคงตัวของยา
เก็บยาไว้ให้พ้นแสงและควรเก็บไว้ในตู้แช่เย็น ที่อุณหภูมิ 2-8 ๐C วิธีการผสมยาเพื่อการบริหารยาตาม route ต่างๆ ดังนี้ ทาง SC หรือ IM สามารถให้ยาในขนาด 1: 1,000 ทาง IV injection ต้องเจือจางด้วย NSS อย่างน้อย 10 ml ให้ได้ ความเข้มข้น 1 : 10,000 หรือ 0.1 mg/ml ทาง IV infusion ควรผสมใน D5W โดยคำนวณปริมาณได้จาก อัตราเร็วที่ต้องการให้ยา

ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบ
Antidote คือ Phentolamine แต่เนื่องจากยานี้ไม่มีในประเทศไทย ในกรณีที่เกิด Extravasation ระหว่างให้ยา และเกิด Blanching ( การซีดของเนื้อเยื่อบริเวณที่ยารั่วออกนอกเส้นเลือด ) การแก้ไขทำได้โดย ใช้ Topical nitrate ทาบริเวณที่เกิดการรั่วของยา และสามารถใช้ infusion terbutaline ร่วมด้วย


แนวทางการสั่งใช้ยา
  • แพทย์ควรระบุขนาดความเข้มข้นของยา และ route ในการให้ยาให้ถูกต้องและชัดเจน เช่น Adrenaline 1: 1,000 IM หรือ 1: 10,000 IV push
  • ยาออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแพทย์ควรตรวจติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด


แนวทางการจ่ายยา
  • เนื่องจากเป็นยา Emergency ควรมีการเตรียมยาให้พร้อมใช้ทั้งในรถฉุกเฉิน และบนหอผู้ป่วย ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบทั้งปริมาณและคุณภาพให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
  • ดูแลการเก็บรักษายาให้พ้นแสงแลเก็บในตู้แช่เย็น


แนวทางการบริหารยา
  • ตรวจสอบยาทุกขั้นตอนทั้งในขณะหยิบยาจากที่เก็บ, จัดยา และก่อนให้ยาผู้ป่วย
  • การบริหารยาผู้ป่วย ควรให้ยาในเส้นเลือดขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของยาออกนอกเส้นเลือด ( Extravasation ) ซึ่งจะทำให้เกิด tissue necrosis ได้
  • การฉีดแบบ IV infusion อย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิด Cerebrovascular hemorrhage หรือ Cardiac arrhythmias ได้ ดังนั้นเมื่อฉีดแบบ IV infusion ควรใช้เครื่อง Infusion pump จะปลอดภัยกว่า





อ้างอิง :
  • Micromedex(R) Healthcare series vol.119
  • The Handbook of Parenteral Drug Administration