High-alert drug guides



Nicardipine injection



ข้อบ่งใช้
ใช้ควบคุมความดันโลหิต เมื่อยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานใช้แล้วไม่ได้ผล หรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาได้ โดยใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และใช้ควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis เช่น ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Eclamsia, Hypertensive encephalopathy หรือในผู้ป่วยที่ต้องการลดความดันโลหิตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ

รูปแบบยาที่มีใช้ในโรงพยาบาล
  • Nicardipine 2 mg/ 2 ml inj. in 1 ampule
  • Nicardipine 10 mg/ 10 ml inj. in 1 ampule


ขนาดใช้ยา
  • เริ่มต้นด้วยการเจือจางยาให้มีความเข้มข้นเป็น 0.1 mg/ ml แล้วให้ยาในอัตราเร็ว 50 ml/ hr จากนั้นสามารถเพิ่มขนาดยาได้อีกครั้งละ 25 ml/ hr ทุก 5 หรือ 15 นาที แล้วแต่ความรีบด่วนในการการลดความดันโลหิต จนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยได้
  • ขนาดยาสูงสุดที่ใช้ห้ามเกิน 150 ml/ hr เมื่อได้ระดับความดันโลหิตตามต้องการแล้ว ให้ลดอัตราเร็วลงเหลือ 30 ml/ hr หรือ ปรับขนาดยาตามความการตอบสนองของผู้ป่วย แล้วเปลี่ยนเป็นยารับประทาน


วิธีการผสมและความคงตัวของยา
เจือจางยาได้ในน้ำเกลือทุกชนิด ยกเว้น Ringer’s lactate solution โดยนำยา 1 amp. ( 10 mg/ 10 ml )ละลายในสารละลายปริมาตร 90 ml เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.1 mg/ ml ซึ่งสารละลายที่เจือจางแล้ว จะมีความคงตัวได้ 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Monitoring
  • Blood pressure และ Heart rate ในระหว่างการให้ยา และหลังจากการให้ยาแล้ว


อาการเมื่อได้รับยาเกินขนาด
  • Hypotension, Bradycardia, Slurred speech, Flushing, ใจสั่น, สับสน, ซึมเศร้า


แนวทางการสั่งใช้ยา
  • แพทย์ควรระบุชื่อยาให้ชัดเจน ไม่ใช้ชื่อย่อ กำหนดอัตราเร็วในการให้ยาและความเข้มข้นของสารละลายให้
  • เนื่องจากยามีผลต่อหลอดเลือดและการเต้นของหัวใจ ดังนั้นแพทย์ควรสั่งใช้ยาด้วยความระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วย CHF, CHD


แนวทางการจ่ายยาและการบริหารยา
  • ตรวจสอบชื่อยาอย่างระมัดระวัง หากคำสั่งหรือลายมือแพทย์ไม่ชัดเจน ต้องปรึกษาแพทย์ผู้สั่งใช้ยาเพื่อยืนยันคำสั่งอีกครั้ง
  • เนื่องจากเป็นยาฉุกเฉิน จึงควรมีการตรวจสอบทั้งปริมาณและคุณภาพของยา ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
  • กรณีที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ควรมีการเปลี่ยนตำแหน่งให้ยาทุก 12 ชม.





อ้างอิง :
  • 1.Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook. 12th ed. Ohio: Lexi-Comp; 2004 – 2005. p. 1089 -91.
  • 2.Gahart BL, Nazareno AR. 2005 Intravenous medications. 21st ed. Philladephia: mosby; 2005. p 851 – 53.